ยินดีต้อนรับว่าที่ผู้บริหาร และรองผู้อำนวยการโรงเรียนทุกท่าน ปีนี้ไม่รู้จะเปิดสอบทันมั้ย คงรอให้รองฯผอ.เขตฯ สอบก่อน แต่ถึงอย่างไรก็ขอให้ท่านได้เตรียมตัวอ่านหนังสือ เชิญทุกท่านฝากข้อความด้านล่างได้เลยครับ
ขอ เชิญ พี่ น้อง บริหาร ทุก ท่าน แสดง ความ เห็น กับ ผอ . สถานุ ได้ เลย ครับ
ฝากข้อความ สนทนา เพื่อนพ้อง พี่น้อง บริหารการศึกษา
ฝากข้อความ สนทนา เพื่อนพ้อง พี่น้อง บริหารการศึกษา
ฝากข้อความ สนทนา เพื่อนพ้อง พี่น้อง บริหารการศึกษา
#####ข้อสอบสำหรับผู้บริหารการศึกษา#####
#####ข้อสอบสำหรับผู้บริหารการศึกษา#####
#####ข้อสอบสำหรับผู้บริหารการศึกษา#####

วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

ข้อสอบการบริหารบ้านเมืองที่ดี

1. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ ดี พ.ศ. 2546 ได้ตราขึ้นตาม กฎหมาย ข้อใด
ก. กฎหมายรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ.2539
ข. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ.2539
ค. กฎหมายรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
ง. ถูกทุกข้อ
2. ในทางปฏิบัติราชการส่วนใดจะปฏิบัติเมื่อใดต้องมีเงื่อนไขอย่างไร ใครเป็นผู้กำหนดให้ปฏิบัติตามพระราช กฤษฎีกานี้
ก. ผู้ว่าราชการจังหวัด ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ค. นายกรัฐมนตรี ง. คณะรัฐมนตรี
3. ใคร มีหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะ (แก่คณะรัฐมนตรี) ก่อนจะปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ในการที่จะให้ส่วน ราชการปฏิบัติเมื่อใด และจะต้องมีเงื่อนไขอย่างใดบ้าง
ก. คณะรัฐมนตรี ข. ก.พ.
ค. ก.พ.ร. ง. ก.พ.อ.
4. คำ ว่า "ส่วนราชการ" ตามความหมายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมือง ที่ ดี พ.ศ.2546 นั้นให้ความหมายถึงส่วนราชการตามกฎหมายข้อใด
ก. ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ข. ตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
ค. ตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม
ง. ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
5. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีนั้นจะต้องบริหารราชการให้บรรลุเป้าหมายทั้งหมดกี่ประการ
ก. 7 ประการ ข. 6 ประการ
ค. 5 ประการ ง. 4 ประการ
6. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีนั้นเป้าหมายสูงสุดคือข้อใด
ก. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ข. เกิดประโยชน์สูงสุดของประชาชน
ค. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
ง. เกิดผลคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
7. ความบริหารของการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดผลตามข้อใด
ก. ความผาสุขของประชาชน
ข. ความอยู่ดีของประชาชน
ค. ความสงบสุขเรียบร้อยของประชาชน
ง. ถูกต้องทั้งหมด
8. ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยเอาอะไรเป็น ศูนย์กลางในการบริหารกิจการ
ก. หน่วยราชการ ข. ประเทศ
ค. สังคมและชุมชน ง. ประชาชน
9. ในการกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการจะต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ความสุขของประชาชนและจะ สอดคล้องตามข้อใด
ก. สอดคล้องกับกฎหมายรัฐธรรมนูญและ ก.พ.ร.กำหนด
ข. สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรี
ค. สอดคล้องกับนโยบายของคณะรัฐมนตรีและแนสนโยบายกระทรวง
ง. สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ
10. ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนนั้นส่วนราชการจะต้องต้องมีแนวทางในการบริหาร ราชการกี่ประการ
ก. 5 ประการ ข. 6 ประการ
ค. 7 ประการ ง. 8 ประการ
11. ส่วน ราชการใดที่จะต้องดำเนินการให้เกิดประโยชน์สูงสุดของประชาชนนั้นจะต้องมีการ กำหนดแนวทางการ บริหารราชการตามข้อใดเป็นอันดับแรก
ก. กำหนดภารกิจการบริหารกิจการราชการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐ
ข. จะต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีผลเสียให้ครบทุกด้านที่กระทบต่อประชาชน
ค. ศึกษาปัญหาและอุปสรรคก่อนการดำเนินการแล้วปรับปรุงโดยเร็ว
ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
12. ในทางปฏิบัติหากมีกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการให้ส่วนราชการปฏิบัติตามข้อใด
ก. แก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว
ข. แจ้งเรียนส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องได้ทราบปัญหา
ค. แจ้ง ก.พ.ร. ให้รับทราบ
ง. แจ้งผู้บังคับบัญชาให้แก้ไขระเบียบข้อบังคับมันโดยเร็ว
13. ใน การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐส่วนราชการจะต้อง ปฏิบัติภารกิจนั้นจะต้อง ดำเนินการตามข้อใดเป็นอันดับแรก
ก. จัดทำแบบปฏิบัติราชการโดยมีรายละเอียดของขั้นตอนระยะเวลาและงบประมาณตลอดจนเป้าหมายของ ภารกิจนั้น
ข. รับความฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการมาศึกษาวิเคราะห์แล้วกำหนดภารกิจ
ค. จัดให้มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามภารกิจหลักเกณฑ์และวิธีที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น
ง. กำหนดภารกิจการบริหารราชการให้สอดคล้องกับ แนวนโยบายของรัฐ
14. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติราชการแผ่นดิน โดยจัดทำ เป็นแผนตามข้อใด
ก. 2 ปี ข. 3 ปี ค. 4 ปี ง. 5 ปี
15. หน่วยงานใดขาดให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการดำเนินการอยู่
ก. สำนักงบประมาณ
ข. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ค. ก และ ข ถูก
ง. ถูกเฉพาะข้อ ข เท่านั้น
16. ในการลดขั้นตอยการปฏิบัติงานนั้นส่วนราชการจะทำตามข้อใด
ก. กระจายอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับการสั่งการอนุญาติการอนุมัติให้แก่ผู้ดำเนินการเรื่องนั้นได้โดดยตรง
ข. ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็นและเพิ่มภารกิจที่บริการให้มากที่สุด
ค. ให้ประชาชนผู้ร่วมบริการรวมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วมและศูนย์บริการเพียงแห่งเดียว
ง. ถูกทุกข้อ
17. ในการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน ส่วนราชการจะจัดให้มีตามข้อใด
ก. กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละงานและประกาศให้ประชาชนได้ทราบทั่วกัน
ข. ให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการหรือข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็น เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ ราชการของส่วนราชการนั้น
ค. ให้มีอำนาจออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศเพื่อบังคับใช้
ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
18. ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการคือข้อใด
ก. คณะ ก.ร.ม. ข. ก.พ.ร.
ค. ก.พ. ง. คณะผู้ประเมินอิสระ
19. ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการอาจจัดให้มีการประเมินข้อใดบ้าง
ก. ผู้บังคับบัญชา ข. หน่วยงานในส่วนราชการ
ค. ข้าราชการ ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
20. องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตาม แนวทางของภารกิจนี้ อย่างน้อยจะต้องมีหลักเกณฑ์เกี่ยวข้องกับข้อใดบ้าง
ก. การลดขั้นตอน การปฏิบัติงานและการอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน
ข. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
ค. เกิดประโยชน์สูงสุดของประชาชนและไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติเกินความจำเป็น
ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
21. ผู้ ที่ทำหน้าที่ดูแลและให้ความช่วยเหลือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำ หลักเกณฑ์การบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้ คือ
ก. สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ข. สำนักนายกรัฐมนตรี
ค. กระทรวงมหาดไทย
ง. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

เฉลย
1. ค 2. ง 3. ค 4. ค 5. ก 6. ข 7. ง 8. ง 9. ข 10. ก
11. ก 12. ก 13. ก 14. ค 15. ค 16. ก 17. ง 18. ง 19. ง 20. ก
21. ค